“ปลิงแดงยักษ์กีนาบาลู” (Kinabalu giant red leech) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimobdella buettikoferi เป็นปลิงชนิดหนึ่งในวงศ์ Salifidae
.
สามารถพบได้เฉพาะใน “เขากีนาบาลู” (Mount Kinabalu) ภายในเกาะบอร์เนียว (Borneo) ที่เดียวเท่านั้น
มันเป็นปลิงขนาดใหญ่ ลักษณะลำตัวแบน หรืออาจจะกลมยาวคล้ายไส้เดือน ที่มีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร โดยทั่วไปมักจะพบในความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
.
มีสีแดงสดไปจนถึงแดงส้ม ทั่วทั้งตัว สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายมาก โดยเฉพาะระหว่างฝนตก หรือหลังฝนตกไม่นานนัก พบอยู่ตามพื้นดิน หรือกองใบไม้ รวมไปถึงรอยแยกต่าง ๆ และซอกหินเล็ก ๆ ที่อยู่ในระดับความสูงราว 2,500 ถึง 3,000 เมตร
ถึงแม้มันจะได้ชื่อว่า ปลิง แต่มันก็ต่างจากปลิงชนิดอื่น ๆ ตรงที่มันไม่ได้เกาะและดูดเลือด แต่ในทางกลับกัน มันเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยพวกมันกินสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าตนเองได้อีกด้วย
โดยที่มันถูกจัดเป็นหนึ่งในปลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งอีกด้วย ซึ่งเหยื่อของพวกมันนั่นก็คือ “ไส้เดือนยักษ์กีนาบาลู” (Kinabalu giant earthworm) ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันนั่นเอง
โดยเจ้าไส้เดือนยักษ์นี้ มีความยาวได้มากถึง 70 เซนติเมตร เลยทีเดียว แต่ด้วยขนาดของไส้เดือนก็ยังกลายเป็นอาหารหลักของปลิงยักษ์ที่มีขนาดเล็กกว่าถึงหนึ่งเท่าอยู่ดี
.
ซึ่งการกินอาหารของเจ้าปลิงยักษ์นี้ค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว นั่นคือ มันจะค่อย ๆ คืบคลานเข้าไปหาเหยื่อ โดยใช้ส่วนหน้าในการสัมผัสจนเจอเหยื่อ
และขยายปากของมันเขมือบเหยื่อเข้าไปจากด้านหนึ่ง เข้าไปทั้งตัว ราวกับงูเหลือมกินเหยื่อเลยทีเดียว (วีดีโอ BBC)
.
แต่โชคดีที่พวกมันกินเพียงแค่ไส้เดือน หรือหนอน และยังอาศัยอยู่แหล่งอาศัยตามธรรมชาติที่จำกัด จึงทำให้มันกระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้ยาก และพัฒนาขนาดตัวขึ้นได้ค่อนข้างช้าเช่นกัน
ซึ่งถ้าเรานึกภาพเจ้าปลิงยักษ์ตัวนี้มีขนาดใหญ่มาก ๆ กว่ามนุษย์ละก็ น่าจะนึกถึงภาพ หนอนมรณะมองโกล ที่เป็นสัตว์ประหลาดในทะเลทรายโกบีนั้นเอง
โดยเคยมีรายงานระบุว่า เจ้าปลิงยักษ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และอาจจะมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับตำนานดังกล่าวก็เป็นได้
.
Ref : Mysabah, Endemicguides, Roaring, Fishingthai, Wikipedia
Pic : Mysabah, Endemicguides, Alchetron, BBC, Wikimedia, Pinterest
#ส่องโลกกว้าง
คลังภาพแกลอรี่
เราได้ทำการรวบรวมรูปภาพที่เกี่ยวกับ ปลิงแดงยักษ์ ไว้ด้านล่างนี้แล้ว