“เขียดงู” หรือ “ซิซีเลียน” (Caecilians) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีชื่ออันดับว่า Gymnophiona ซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิด
.
สามารถพบได้ในพื้นที่เขตเขตร้อน ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ไปจนถึงทางตะวันออก และตะวันตกของแอฟริกา รวมไปถึงตั้งแต่ตอนกลางของอเมริกา ไปจนถึงตอนใต้ของอเมริกาอีกด้วย
ลักษณะโดยทั่วไปจะมีลำตัวเรียวยาวคล้ายกับงู หรือปลาไหล หากมีขนาดตัวเล็ก ๆ อาจจะดูคล้ายกับไส้เดือนเลยทีเดียว โดยมีความยาวได้ตั้งแต่ ไม่กี่เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร
.
ทั้งนี้ขนาดตัว และสีบนร่างกายจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด โดยทั่วไปส่วนหัวจะมีดวงตาขนาดเล็ก ปลายจมูกทู่ และมีปากที่กว้างพอสมควร มักจะมีผิวเรียบลื่น สีดำ และสีเข้มทั่วทั้งตัว
อีกทั้งยังพบได้ทั้งบนบก และในน้ำ กินสัตว์ขนาดเล็กอย่าง แมลง ไส้เดือน หอยทาก หรือสัตว์ขนาดเล็กบางชนิด อีกทั้งเขียดงูแม้จะมีรูปร่างราวกับงู หรือไส้เดือนก็ตาม แต่ 75 เปอร์เซ็นต์ของชนิดที่พบยังออกลูกเป็นตัวอีกด้วย
แม้ว่าจะมีปาก และฟันขนาดเล็กภายในที่ดูน่ากลัว แต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และไม่มีพิษ แต่ก็มีชนิดที่มีพิษรุนแรงด้วยเช่นกัน
แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเขียดงูสายพันธุ์หนึ่ง ที่ดูน่ากลัวราวกับสัตว์ประหลาด แถมยังมีพิษร้ายแรงอีกด้วย มันมีชื่อว่า “เขียดงูวงแหวน” (Ringed Caecilian) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siphonops annulatus
เป็นเขียดงูที่พบในอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่ซิซีเลียนบนบก โดยมีขนาดตัวยาวได้ตั้งแต่ 28.6 ถึง 45.0 เซนติเมตร โดยมีลำตัวรูปร่างทรงกระบอก โดยแต่ละปล้องจะมีวงแหวนที่ขาวอยู่ระหว่างรอยต่อนั่นเอง
.
แต่ภายในปากที่มีฟันซี่เล็กนี้ มีต่อมพิษที่รุนแรงซ่อนอยู่ โดยนักวิจัยได้ทำการสกัดพิษจากตัวอย่างที่ยาวเพียง 1 เซนติเมตรออกมา พบว่าภายในมี “เอนไซม์ฟอสโฟไลเพสเอ2” (Phospholipase A2) ซึ่งมีผลทำให้อวัยวะภายในอักเสบได้เลยทีเดียว อีกทั้งเอนไซม์ที่พบนี้ยังมากกว่าที่พบในงูหางกระดิ่งเสียอีก
.
และพิษของมันรุนแรงพอที่จะทำให้หนูที่ถูกกัดแน่นิ่งได้ในทันที และตายภายใน 1 นาทีเลยทีเดียว นั่นจึงทำให้มันสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดตัวหลายเท่าอย่างหนูตัวเล็ก ๆ ได้นั่นเอง
ซึ่งพิษเหล่านี้คาดว่าออกมาจากต่อมพิษใต้ฟัน ที่เมื่อมันกัดเหยื่อจะทำให้พิษถูกปล่อยออกมาทันทีนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะรอบ ๆ ตัวมันก็ถูกพิษชนิดนี้เคลือบอยู่ทั่วทั้งตัว เพื่อป้องกันจากนักล่า และยังช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
.
อย่างไรก็ตาม พิษของมันก็ไม่สามารถทำอะไรมนุษย์ได้มากนัก แต่ด้วยรูปร่าง และขนาดตัวที่เล็กของมันที่ทำให้มนุษย์มักเข้าไปผิดว่าเป็นไส้เดือนอยู่เป็นประจำ
.
Ref : Dailymail, NationalGeographic, Theanimalfacts, Flagfrog, Wikipedia
Pic : Dailymail, NationalGeographic, Iscience, Wikimedia, Pinterest
#ส่องโลกกว้าง
คลังภาพแกลอรี่
เราได้ทำการรวบรวมรูปภาพที่เกี่ยวกับ เขียดงู ไว้ด้านล่างนี้แล้ว